..กวนอิมผ่อสักบทสวดมนต์ยินดีต้อนรับทุกท่าน..ครับ

กวนอิม

กวนอิม
กวนอิมปางส่งบุตร ใครที่ไม่มีบุตรควรสักการะปางนี้

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

มนต์

อวง แซ จิ่ว (จุติสุขาวดี)

นำ โม ออ นี้ ตอ พ้อ แอ • ตอ ทอ แค ตอแอ

ตอ ตี้ แอ่ ทอ •ออ นี้ หลี่ ตู ผ่อ พี

ออ นี้ หลี่ ตอ •เซ็ก ตัง ผ่อ พี •ออ นี้ หลี่ ตอ

พี เกีย หลั่ง ตี่ •ออ นี้ หลี ตอ •พี เกีย หลั่ง ตอ
แก หนี่ ยื่อ • แก แก นอ จี ตอ เกีย ตี๋ ซา ผ่อ ฮอ

บทนี้ท่อง ๓ ครั้งอย่างต่ำ
ผู้ที่หมั่นสวดคาถาบทนี้ ในขณะที่ตนยังมีชีวิตอยู่จะได้พึ่งส่วนบุญบารมี

จากองค์เจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์จะได้รับความคุ้มครองให้ปราศจากภยันตราย และสิ่งเลวร้ายทั้งปวง ทำให้ได้รับความสุขความเจริญ คิดสิ่งที่ดีเป็นมงคล จะสมความปรารถนา ถ้าใกล้ถึงแก่ความตายผู้นั้นจะได้อาศัยบุญบารมีแห่งองค์เจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ นำทางไปสู่ภพที่ดียิ่งขึ้น
1. อิดเซียงโก อิดเซียงท้อ กิมตุ้ยเหนี้ย ฮุกตุ้ยจ้อ น่ำไฮ่เหนี่ยเหนี้ย หลายกิ้วโค่ว กิ้วโค่วกิ้วหลั่ง ออนี้ท้อ นำมอออ นีทอฮุก

2. ยี่เซียงโก ยี่เซียงท้อ กิมตุ้ยเหนี้ย ฮุกตุ้ยจ้อ น่ำไฮ่เหนี่ยเหนี้ย หลายกิ้วโค่ว กิ้วโค่วกิ้วหลั่ง ออนี้ท้อ นำมอออ นีทอฮุก

3. ส่าเซียงโก ส่าเซียงท้อ กิมตุ้ยเหนี้ย ฮุกตุ้ยจ้อ น่ำไฮ่เหนี่ยเหนี้ย หลายกิ้วโค่ว กิ้วโค่วกิ้วหลั่ง ออนี้ท้อ นำมอออ นีทอฮุก

4. สี่เซียงโก สี่เซียงท้อ กิมตุ้ยเหนี้ย ฮุกตุ้ยจ้อ น่ำไฮ่เหนี่ยเหนี้ย หลายกิ้วโค่ว กิ้วโค่วกิ้วหลั่ง ออนี้ท้อ นำมอออ นีทอฮุก

5. โหงวเซียงโก โหงวเซียงท้อ กิมตุ้ยเหนี้ย ฮุกตุ้ยจ้อ น่ำไฮ่เหนี่ยเหนี้ย หลายกิ้วโค่ว กิ้วโค่วกิ้วหลั่ง ออนี้ท้อ นำมอออ นีทอฮุก

6. ลักเซียงโก ลักเซียงท้อ กิมตุ้ยเหนี้ย ฮุกตุ้ยจ้อ น่ำไฮ่เหนี่ยเหนี้ย หลายกิ้วโค่ว กิ้วโค่วกิ้วหลั่ง ออนี้ท้อ นำมอออ นีทอฮุก

7. ฉิกเซียงโก ฉิกเซียงท้อ กิมตุ้ยเหนี้ย ฮุกตุ้ยจ้อ น่ำไฮ่เหนี่ยเหนี้ย หลายกิ้วโค่ว กิ้วโค่วกิ้วหลั่ง ออนี้ท้อ นำมอออ นีทอฮุก

8. โป๊ยเซียงโก โป๊ยเซียงท้อ กิมตุ้ยเหนี้ย ฮุกตุ้ยจ้อ น่ำไฮ่เหนี่ยเหนี้ย หลายกิ้วโค่ว กิ้วโค่วกิ้วหลั่ง ออนี้ท้อ นำมอออ นีทอฮุก

9. เก้าเซียงโก เก้าเซียงท้อ กิมตุ้ยเหนี้ย ฮุกตุ้ยจ้อ น่ำไฮ่เหนี่ยเหนี้ย หลายกิ้วโค่ว กิ้วโค่วกิ้วหลั่ง ออนี้ท้อ นำมอออ นีทอฮุก

10. จับเซียงโก จับเซียงท้อ กิมตุ้ยเหนี้ย ฮุกตุ้ยจ้อ น่ำไฮ่เหนี่ยเหนี้ย หลายกิ้วโค่ว กิ้วโค่วกิ้วหลั่ง ออนี้ท้อ นำมอออ นีทอฮุก

11. จับอิดเซียงโก จับอิดเซียงท้อ กิมตุ้ยเหนี้ย ฮุกตุ้ยจ้อ น่ำไฮ่เหนี่ยเหนี้ย หลายกิ้วโค่ว กิ้วโค่วกิ้วหลั่ง ออนี้ท้อ นำมอออ นีทอฮุก



12. จับยี่เซียงโก จับยี่เซียงท้อ กิมตุ้ยเหนี้ย ฮุกตุ้ยจ้อ น่ำไฮ่เหนี่ยเหนี้ย หลายกิ้วโค่ว กิ้วโค่วกิ้วหลั่ง ออนี้ท้อ นำมอออ นีทอฮุก

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

งานเทศกาล

เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวจีน และ ไทยในจังหวัดปัตตานีอย่างดี ต่อมาได้แพร่หลายไปทั่ว เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย หรือหลังตรุษจีน 14 วัน หรือวันเพ็ญเดือน 3 ตามจันทรคติของไทย จะมีงานฉลองสมโภชเจ้าแม่ ซึ่งจัดเป็นงานฉลองใหญ่โตทุกปี ก็จะมีชาวจีน ชาวไทยเดินทางไปร่วมพิธีกันคับคั่ง มีพิธีดำน้ำ ลุยไฟ กลายเป็นงานที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัดงานหนึ่ง ท่านที่เดินทางไปจังหวัดปัตตานีสามารถจะไปสักการะได้ที่ ศาลเล่งจูเกียง ถนนอาเนาะรู อำเภอเมืองซึ่งมีรูปจำลองของเจ้าแม่ประดิษฐานอยู่ แต่เดิมเป็นศาลเจ้าซูก๋ง ศาลเจ้าเก่าแก่สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชากรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 2117 และอีกแห่งหนึ่งคือที่สุสานเจ้าแม่ที่ตำบลกรือแซะ อยู่ในเขตอำเภอเมืองเช่นกัน ต่อมาได้มีการทำรูปจำลองนำไปประดิษฐานยังศาลเจ้าหรือมูลนิธิต่าง ๆ หลายแห่ง



ตามประวัติเล่ากันว่า เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว (หรือสำเนียงแต้จิ๋วว่า ลิ้มโกวเนี้ย) ทางไต้หวันกล่าวว่าเจ้าแม่มีชื่อจริงว่า “ จินเหลียน “ (หรือ “ กิมเน้ย” ในสำเนียงแต้จิ๋ว ) ชาวฮกเกี้ยน มีพี่ชายชื่อ เต้าเคียน หรือ โต๊ะเคี่ยม แต่บางตำนานก็ว่าเป็นชาวเมืองฮุยไล้ แขวงแต้จิ๋ว สมัยพระเจ้าซื่อจงฮ่องเต้ ในราชวงค์เหม็งประมาณปี พ.ศ.2065 – 2109 ลิ้มโต๊ะเคี่ยม เคยรับราชการ ได้ออกผจญภัยในที่ต่าง ๆ สร้างวีรกรรมไว้ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ เมื่อเดินทางมาถึงปัตตานี (สมัยนั้นเรียกว่าเมืองตานี ) โดยได้ นำเครื่องบรรณาการมาถวายเจ้าเมือง ได้พบ และ รักกับธิดาพระยาตานี ต่อมาลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้เข้ารีตนับถืออิสลาม และ แต่งงานกับธิดาเจ้าเมืองตานี ลิ้มโต๊ะเคี่ยมเป็นผู้ที่มีฝีมือในด้านการหล่อโลหะ และ การก่อสร้าง พระยาตานีจึงให้สร้างมัสยิดประจำเมืองให้ยิ่งใหญ่ และสวยงามที่สุด และให้สร้างปืนใหญ่ในเวลาต่อมา ( ชื่อ “โต๊ะเคี่ยม” บ้างก็ว่าเดิมชื่อ “เคี่ยม” เมื่อเข้ารีตเป็นอิสลามชาวบ้านจึงเรียกว่า “ โต๊ะเคี่ยม “ แปลว่าครูเคี่ยม เพราะเป็นช่างฝีมือดี )





ในระหว่างที่มีการก่อสร้างมัสยิดกรือแซะนั่นเอง ก็มีหมู่เรือสำเภามาจอดที่เมืองปัตตานีในครั้งนี้ มีผู้หญิงคุมกองเรือมานั่นก็คือ ลิ้มกอเหนี่ยว น้องสาวของบุตรเขยเจ้ามืองตานี ซึ่งมาตามพี่ชายให้กลับบ้านไปหามารดาที่ชรามากแล้ว แต่ลิ้มโต๊ะเคี่ยมก็ไม่ยอมกลับ บอกว่ามัสยิดใกล้เสร็จ หากภารกิจเสร็จก็จะพาภรรยาไปเยี่ยมมารดาพร้อมกัน อ้อนวอนพี่ชายอยู่หลายตลบจนแน่ใจว่าพี่ชายไม่ยอมละความตั้งใจแล้ว ด้วยความเด็ดเดี่ยว ลิ้มกอเหนี่ยวจึงออกจากที่พักเดินทางมาถึงบริเวณที่ก่อสร้างมัสยิดกรือแซะ ได้ผูกคอตายที่กิ่งมะม่วงหิมพานต์ต้นใหญ่ และ ทิ้งจดหมายให้พี่ชายไว้ดูต่างหน้า




ลิ้มโค๊ะเคี่ยมได้จัดการศพน้องสาวโดยฝังไว้ในฮวงซุ้ยที่สร้างขึ้นที่ใกล้ ๆ มัสยิดกรือแซะที่เขากำลังสร้างอยู่นั้นเองแต่ยังไม่สำเร็จ จะด้วยเหตุผลกลใดไม่ทราบได้ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้เดินทางไปที่กองหล่อปืนใหญ่ที่อยู่ใกล้กันและเขาเป็นแม่กองหล่อปืนอยู่ด้วย ไปยืนปลงอยู่หน้ากระบอกปืนใหญ่ที่สร้างขึ้น และจุดชนวน ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงจบชีวิตตรงนั้นเอง ซึ่งหนึ่งในกระบอกที่ยังเหลืออยู่ก็คือ ปืนใหญ่นางพญาตานี ปืนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม





ที่สุสานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวนั้น มีชาวปัตตานีได้มากราบไหว้ และ บนบานศาลกล่าว ปรากฏว่าต่างก็สมหวังไปตาม ๆ กัน ผู้คนจึงร่ำลือโจษจรรย์ไปทั่วปรากฏว่ามีผู้คนหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ ต่อมา มีผู้ตัดกิ่งมะม่วงหิมพานต์ต้นที่เจ้าแม่ผูกคอตายไปสลักเป็นรูปเจ้าแม่ตั้งอยู่ในศาลไม้เล็ก ๆ ข้างสุสานให้กราบไหว้บูชาด้วย ประมาณ 5 – 60 ปีที่ผ่านมานี้ พระจีนคณานุรักษ์ (ตันจูหลาย ต้นสกุล “คณานุรักษ์”) หัวหน้าชาวจีนในเมืองปัตตานี เห็นว่าที่สุสานซึ่งอยู่นอกเมืองไม่สะดวกในการไปกราบไหว้ จึงได้อัญเชิญรูปจำลองของเจ้าแม่มาอยู่ที่ “ศาลเจ้าเล่งจูเกียง “ ที่บูรณะจากศาลเจ้าซูก๋งให้กว้างขวาง ศาลเจ้าแห่งใหม่นี้ มีผู้คนเดินทางมาสักการะบูชาจากทุกทิศทุกภาคของประเทศ จนคณะกรรมการที่ช่วยกันดูแลได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิ ปัจจุบันนี้ สามารถขยายพื้นที่ สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเป็นอันมาก มีลานหน้าศาลกว้างขวาง มีอัฒจรรย์สำหรับชมพิธีลุยไฟ และมีโอ่งน้ำยักษ์ทาสีแดงสด สามารถจุน้ำได้ 9 หมื่นลิตร ซึ่งก็ล้วนมาจากอภินิหาร และ บารมี ที่มาจากเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวนั่นเอง




ในการเซ่นไหว้สักการะเจ้าแม่ นอกจากเครื่องกระดาษธูปเทียน นัยว่าท่านโปรดผ้าแพรสีแดง และ สร้อยมุก สร้อยมุกนั้นที่ปฏิบัติกันอยู่ก็คือ เมื่อไหว้ และ อธิฐานแล้ว ก็จะนำไปคล้องที่ศอเจ้าแม่ทั้ง 2 เส้น และ นำคืนมา 1 เส้นคล้องคอผู้ไหว้นำกลับไปบูชาที่บ้าน



ตรุษจีน หรือ “ชุงโจ้ย “( 春 節 ) คือวันที่ปราชญ์ชาวจีนแต่โบราณกำหนดให้ เป็นวันเริ่มต้นในรอบปี ตามปฏิทินจันทรคติของจีน นอกจากเป็นวันเริ่มต้นของปีแล้ว ยังเป็นวันเปลี่ยนจากฤดู “ตังที” “ ตง ที”( 冬 天 ) อันหนาวเหน็บ เข้าสู่ ฤดู “ชุงที ”( 春 天 ) ที่มีแต่ความสุขสดชื่น อบอุ่นมีชีวิตชีวา สรรพสัตว์ตื่นจากจำศีล ผลประกอบการทางการค้าที่มีกำไรส่งให้มีการจ่ายเงินรางวัลแก่ลูกจ้าง และคนในครอบครัว วันตรุษจีน จึงเป็นวันแห่งความสุขเกษมเปรมปรีดิ์ในรอบปี มีการฉลองอย่างสนุกสนาน ใหญ่โต มีสีสัน อย่างที่ทราบกัน คนจีนเป็นผู้ที่ขยันขันแข็ง ทำงานเช้ายันค่ำทุกวันแทบไม่มีวันหยุด ปีละกว่า 300 วัน จะมีวันหยุดที่เป็นล่ำเป็นสันก็ช่วงตรุษจีนประมาณ 5 วันเท่านั้น เขาจึงใช้เวลาเหล่านั้นไปบำรุงบำเรอความ สุขตนอย่างเต็มที่ จับจ่ายใช้สอย เช่นซื้อเสื้อผ้า อาหารอย่างดี เที่ยวเตร่ เป็นต้น


วันตรุษจีน มีมาแล้วประมาณ 3,600 ปี หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปฏิทินจีนนั้นกำเนิดขึ้นเมื่อ 980 ปีก่อนพุทธกาล สันนิฐานว่า ตรุษจีนก็คงเริ่มมาในเวลาไล่เรี่ยกัน

ช่วงของเทศกาลตรุษจีน ต่อเนื่องมา ตั้งแต่วันสุดท้ายของเดือน 12 ของปฎิทินจีน ( แต่ไม่เสมอไปอาจเป็นวันอื่น แต่ละปีจะไม่ตรงกัน และเหตุที่ใช้คำว่า ”วันสุดท้าย” เพราะเดือน ของจีนมีทั้ง 29 วัน หรือ 30 วัน ไม่กำหนดแน่นอน )

แต่พอผ่าน วันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคม (ตรงนี้ต้องใช้เดือนของเทศประกอบ) เป็นวัน “ตังโจ้ย” ( 冬 節 ) หรือเทศกาลกิน ” อี๊”( 圓 ) ขนมบัวลอย ผู้ที่ผ่านวันนี้ไปแล้วพึงจำไว้ ท่านมีอายุเพิ่มขึ้นอีก 1 ขวบ ” อี๊” ส่วนหนึ่งจะเอาไปติดไว้ตามตู้กับข้าว ผนัง ตามข้างเตาไฟ จุดอื่นในห้องครัวบ้าง ในช่วงนี้จนถึงสิ้นปี จะมีงิ้วแก้บน ที่เรียกว่า งิ้ว “ เสี่ยซิ้ง “ ( 謝 神 ) กันแทบทุกศาลเจ้า ศาลพระภูมิ หรือ โรงเจ เยอะมาก ความจริงบางแห่งอาจมีมาก่อนหน้านี้แล้ว

เหตุที่ต้องใช้เดือนของเทศประกอบเนื่องจากการคำนวณวัน “ตังโจ๊ย” ถือเอาวันที่เวลากลางวันสั้นที่สุดของปี ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาวของประเทศจีน หรือประเทศซีกโลกทางเหนือ วันที่ที่กำหนดว่าเป็นวัน“ตังโจ๊ย” ให้ดูจากปี ค.ศ. ปีที่หารด้วย 4 ลงตัวหรือปีที่เดือน กุมภาพันธ์มี 29 วัน “ตังโจ๊ย” จะเป็นวันที่ 21 ธันวาคม

จากนั้นก็จะถึงวันที่ 24 ของเดือน 12 เป็นวัน “ซิ๊งเจี่ยที “ (神 上 天 ) ไหว้ส่ง เจ้าเตาไฟ “เจ่าซิ้ง” ( 灶 神 ) ขึ้นไปเฝ้าองค์เง็กเซียนฮ่องเต้ บนสวรรค์ เพื่อรับเลี้ยงตรุษจีน และ เพ็ดทูลความเป็นไปของโลกมนุษย์ ความดีความชั่วของชาวบ้านต่าง ๆ เง็กเซียนฮ่องเต้ก็รู้กันตอนนี้ จะได้นำไปคิดบัญชีต่อไป คนจีนเลยไหว้เจ้าในวันนี้ด้วย “ขนมหวาน หรือ ขนมบัวลอย ” ที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว โรยน้ำตาล แผ่นบาง ที่หวาน และ เหนียว เป็นการทำให้เทพเตาไฟเพ็ดทูลเรื่องความไม่ดีในโลกมนุษย์ได้ไม่ถนัดปาก เพราะขนมติดปาก หรือ รับสินบนชาวบ้านมา แล้วโดยไม่รู้ตัว มิใช่มีแค่เจ้าเตาไฟเท่านั้นที่ขึ้นไปเฝ้า เทพที่มีฐานะต่างก็ต้องขึ้นไปเฝ้าแหนเช่นกัน เช่น เจ้าที่ ตี่จู๋เอี๊ย เป็นต้น

หลังจากวันส่งเจ้าแล้ว ชาวบ้านจะพากันทำความสะอาดบ้านเรือน ห้องหอ เป็นการขนานใหญ่ เตรียมไว้รับสิ่งดี ๆ ใหม่ ๆ ในวันตรุษจีนกัน บ้างก็จะทาสีบ้าน ติดกระดาษสีแดงมีตัวอักษรจีนสีทอง ติดประตูทางเข้าบ้านข้างละแผ่น เรียกว่ากระดาษ “ กลอนคู่ “ “ ตุ้ยเลี้ยง “ ( 對 聯 )หรือ คำอวยพรง่าย ๆ เช่น “ซิงเจียยู่อี่ ซิงนี้ฮวกไช้ “ ศกใหม่ให้สมดังหวัง ปีใหม่ให้มั่งคั่งร่ำรวย หรือ กลอนอื่น ๆ ที่เป็นศิริมงคล ช่างเขียนอักษรจีนจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำในช่วงนี้ เมื่อ 4 – 50 ปีก่อน มีผู้ประดิษฐ์อักษรจากลวดลายต่าง เช่นนก ผีเสื้อ ต้นไม้ ใบไม้ และ เดินไปเขียนให้ตามบ้านเรือนทั้งใน กทม. และ ต่างจังหวัด

ไคลแม็กซ์จริง ๆ เทศกาลตรุษจีน เริ่มตั้งแต่ก่อนวันตรุษจีน 2 วัน เรียกว่า “วันจ่าย” เป็นวันที่แม่บ้านพ่อบ้านต้องไปจับจ่ายหาซื้อเครื่องเซ่นไหว้ อาหารการกินเตรียมไว้ช่วงตรุษจีนที่ร้านรวงปิดกันเป็นส่วนใหญ่ พอถึงวันสุดท้ายของเดือน 12 ซึ่งนิยมเรียกว่า “ซาจับ” (三 十) แม้บางปีจะเป็นวันที่ 29 จะเป็น “วันไหว้” เริ่มกันตั้งแต่ช่วงเช้า จะเป็นการไหว้เจ้าที่ ( ตี่จู๋เอี๊ย ) ศาลพระภูมิ ไหว้บรรพบุรุษตอนสาย ตกบ่ายไหว้ “ หอเฮียตี๋ ” (好 兄 弟) ผี – วิญญาณไร้ญาติ สัมภเวสี ที่ล่องลอยไปมาคอยรับส่วนบุญ ซึ่งเป็นการ สะท้อนถึงจิตวิญญาณของชาวจีนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แม้กับวิญญาณคนตายที่ตนไม่รู้จัก จากนั้น ก็จะมีการแจกเงินก้นถุง แก่บรรดาลูกหลาน บริวาร ใส่ซองแดงเรียกว่า “ อั่งเปา ” ( 紅 包 )(เงินแต๊ะเอีย เงินโบนัส แล้วแต่จะเรียก ) แล้วกิจการงาน การค้าจะสะดุดอยู่ตรงนั้นไปอีกหลายวัน เงินอั่งเปานี้สมัยก่อน เด็ก ๆ จะได้สตางค์แดง หรือ สตางค์ดีบุก ตั้งแต่ 1 สตางค์ ไปจนถึง 20 สตางค์ ที่เป็นเหรียญมีรูตรงกลาง ร้อยด้าย - เชือกสีแดง ปัจจุบันเป็นแบ๊งค์สีต่าง ๆ ใส่อยู่ในซองสีแดงสดใส

“ ซาจับแม้ “ ( 三 十 夜 ) คืนวันสุกดิบ คืนวันสุดท้ายของเดือน 12 ต่อวันตรุษจีน “ชิวอิก ”(初 一)ซึ่งเป็น “ วันถือ ”หัวค่ำชาวจีนจะพากันอาบน้ำชำระร่างกาย ไหว้พระไหว้เจ้า เตรียมตัวรอรับ “ ไฉ่สิ่งเอี๊ย ” ( 財 神 爺 ) เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย หรือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ เทพเจ้าแห่งเงินตรา เพื่อความเป็นศิริมงคล มีความร่ำรวยยิ่ง ๆ ขึ้นไปในปีใหม่


“ไฉ่สิ่งเอี๊ย” เทพเจ้าแห่งโชคลาภ โชคดี หรือ เทพเจ้าเงินตราจะเสด็จมาให้โชคลาภแก่มวลมนุษย์ในช่วงยามแรก ๆ ของปี ระหว่าง 5 ทุ่มถึง ตี 4 แต่จะมีทิศทาง และ เวลาที่เสด็จมาต่างกัน อย่างปี 2553 จะเสด็จมาในวันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ ทางทิศตะวันออกเฉียงไต้ เริ่มไว้ตั้งแต่เวลา 23.00 สิ้นสุดไม่เกิน 24.59 น.ผู้ที่จะไหว้ต้องนำเครื่องเซ่นไหว้ ซึ่งเป็นผลไม้ ขนมต่าง ๆ เช่น ไต่กิก (ส้ม) อี้ (บัวลอย) ขนมจันอับ อาหารเจ 5 อย่าง น้ำชา ธูป ทองเท่ง เงินเท่ง เทียนเถ่าจี๊ หันหน้าไปหาทิศที่ท่านจะเสด็จ ผ่านมา เพื่อขอพรจาก “ไฉ่สิ่งเอี๊ย” ท่านเป็นเทพเจ้าที่มีเมตตาให้ทั้งโชคลาภ และ ปกป้องโพยภัยต่าง ๆ

“ ชิวอิก ” เป็น “ วันถือ ” หรือ “ วันเที่ยว “ เป็นวันที่เขาถือกันว่าจะไม่ด่า ไม่พูดคำหยาบคาย ไม่นินทาว่าร้าย คิด ห้ามทวงหนี้ ให้ทำแต่สิ่งที่ดี พุดดี ใช้มธุรสวาจา พูดสิ่งร้ายให้กลายเป็นดี ไม่ตีแม้แต่ลูก หลานที่ทำความผิด เวลาลูกหลานทำสิ่งของแตก ก็อาจจะพูดว่า อ้อ...ดีดี ชามมันอ้าออกเพื่อรับโชคลาภ เป็นต้น อาหารเช้าจะเป็นอาหารเจ 1 มื้อ หลังจากนั้น หมู เห็ด เป็ด ไก่บรรดามีที่ใช้ไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษก็จะนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานต่อไปอีกหลายวันโดยไม่ต้องออก ไปซื้อหา วันชิวอิก ถึง ชิวซา ( 初 三 ) หรือ ในระหว่างช่วงตรุษจีน ก็จะมีการไปมาหาสู่ในระ หว่างญาติมิตร ที่ไม่ได้พบกันมาตลอดทั้งปี หรือ ไปขอพรพ่อแม่ เป็นต้น เวลาไปเยี่ยมต้องนำ “ ไต่กิก “ ( 大 桔) ผลส้มไป 2 หรือ 4 ลูก หรือ ขอให้เป็นจำนวน “ คู่ “ และจะมีการแลกเปลี่ยนส้มกัน โดยผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านจะรับส้มไปครึ่งหนึ่ง หรือ ทั้งหมด และนำส้มในบ้านมาใส่กลับไปในจำนวนเท่า ๆ กัน เป็นการรับ-ส่งความสุขซึ่งกันและกัน เจ้าของบ้านจะเลี้ยงน้ำชาแกล้ม “ แต่เหลี่ยว หรือ ขนมจันอับ “ หรือ “ จับกิ้ม “ ( 什 錦 ) แก่ญาติมิตรที่มาเยี่ยมเยียนอวยพร วันตรุษจีนเป็นช่วงที่เด็ก ๆ จะชอบมากเป็นพิเศษ เนื่องจากได้ทั้งเงินแตะเอีย มีเครื่องแต่งกายใหม่ ๆ สีสันสดใส ยังได้ไปเที่ยวสนุกสนานตามแหล่งที่หมายตาไว้อีกด้วย สีเสื้อผ้าที่สวมใส่จะเป็นสีที่เป็นมงคลเช่น สีแดง และไม่ใส่สีที่เป็นอัปมงคล เช่น สีดำเป็นต้น หากหลีกเลี่ยงได้จะไม่แตะต้องของมีคม เช่นมีด เข็ม เกรงว่าจะบาดนิ้ว บาดตัว เป็นการตัดโชคลาภของตนเอง และไม่ทำสิ่งของแตกหักเสียหายอันจะเป็นลางไม่ดี

หลังเยี่ยมญาติ ความสนุกสนานก็จะเป็นสิ่งที่เขาทำกันเต็มสติกำลัง บ้างก็ไปทำบุญทำทานตามศาลเจ้า โรงเจที่ตนนับถือ พากันถ่ายรูปกันทั้งครอบครัวเป็นที่ระลึก จนถึงชิวสี่ ( 初 四 )หรือ ชิวโหงว ( 初 五) จึงจะกลับมาก้มหน้าก้มตาทำงานทำการกันต่ออีก 300 กว่าวันเพื่อเก็บเงินเก็บทองไว้ฉลองตรุณจีนในปีต่อไป

“ ชิวสี่ “ วันที่สี่ของเทศกาลตรุษจีน ที่ส่วนใหญ่กำหนดให้เป็นวันเริ่มงาน เป็นวันที่ รับ “ เจ่าซิ้ง” เทพเจ้าเตาไฟ และ เทพเจ้าองค์อื่น ๆ กลับจากเข้าเฝ้าองค์เง็กเซียนฮ่องเต้ เรียกว่าวัน “ซิ้งเลาะที” ( 神 下 天 )

“ชิวฉิก” ( 初 七 ) วันที่ 7 ของเทศกาลตรุษจีน เป็นวันที่กำหนดให้มีการรับประทานอาหารประเภทผัก 7 อย่าง ที่เรียกว่า “ชิกเอี่ยไฉ่” (七 樣 菜 ) ซึ่งโดยมากจะเอาผักต่าง ๆ มาผัด หรือ ต้มจับไฉ่ ผักนานาชนิดที่นำมาเป็นเครื่องปรุงในวันนี้จะสรรค์หาผักที่มีชื่อ และความหมายที่เป็นมงคล อาจจะเปลี่ยนแปรไปบ้างแล้วแต่รสนิยม และ ความเชื่อ หรือ ผลิตผลในแต่ละท้องถิ่น บ้างก็ถือเอาวันที่ 6 เรียก “ หลักเอี่ยไฉ่ “แต่ในเมืองไทย ต้อง“ฉิกเอี่ยไฉ่“

ผักมงคล 7 อย่าง โดยมากจะประกอบด้วย

1. คึ่งไฉ่ 芹 菜 ไปพ้องเสียงกับ “ คึ้ง “ ( 勤 ) แปลว่ามีความเพียร วิริยะ ขยัน

2. ชุงไฉ่ 春 菜 พ้องกับคำว่า “ ชุง ” ( 春 ) ฤดูใบไม้ผลิ หมายถึงความสดชื่นมี ชีวิตชีวา อีกคำหนึ่ง 伸 ชุง แปลว่า ยืด หรือ ยื่นที่ถูกดึงไปเข้ากับความหมายว่า มีโอกาศยืดหน้า ยืดตากับเขาได้บ้าง

3. เก่าฮะ เก๋าฮะ 厚 合 ผักเขียว ๆ ใบหนา ๆ ความหมายคือ ความซื่อสัตย์ ความน่าเชื่อถือ เจ้าสาวที่แต่งงานไปในครอบครัวคนจีนที่ยังเคร่งอยู่ก็จะได้รับประทานผักตัว นี้ เพื่อให้ซื่อสัตย์ต่อสามี ส่วนคนไทยเชื้อสายจีน ดึงมาเป็นพวกเสียเลย เก๋าจึงเป็นศัพย์แสลง แปลว่า แน่ แปลว่า ผู้ชำนาญการ เช่น เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เป็นศูนย์หน้าที่ “ เก๋าเกมส์ ” เป็นต้น แต่บางครั้งผัก เก๋าฮะ นี้ เขาก็ใช้ แป๊ะฮะ 百合 แทนก็มี ซึ่งก็แปลว่าเป็นผู้ที่เข้าได้กับทุกคน เข้าได้ กับทุกสถานะการณ์พ้องเสียงกับคำว่าสมานฉันท์ เข้าได้หมดไร้ปัญหา NO PROBLEM

4. สึ่ง 蒜 ต้นกระเทียม พ้องเสียงกับคำว่า “ สึ่ง “ ( 算 ) แปลว่า “นับ” คนจีนถือว่า คนนับเลขเป็นก็จะเป็นพ่อค้าพ่อขายจะร่ำรวย

5. ตั้วไฉ่ 大 菜 ผักกาดเขียว มีความหมายว่าใหญ่โต ยิ่งใหญ่

6. ไช่เท้า 菜 頭 เป็น “ อาเท้า “ เป็นหัวหน้า คือได้เป็น เจ้าคนนายคน หรือไปพ้องกับ “ไช้” ( 財 ) แปลว่า โชคลาภ มีลาภ

7. คะน้า 甲 藍 หมายถึงที่หนึ่งในตะกร้า คำว่า“ กะ”( 甲 )เมื่อไปผสมกับ คำว่า ประเทศ หรือ โลก ก็แปลว่ายอดเยี่ยม เป็นที่หนึ่งในโลก จึงไม่น่าสงสัยว่าทำไมต้องเป็นผักตัวนี้

ชื่อผักชนิดต่าง ๆ ข้างต้น ต้องบอกไว้ในที่นี้ว่า เป็นเรื่องของคนไทยเชื้อสายจีนที่มีอิทธิพลของความเชื่อของจีนแ ต้จิ๋ว เข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก เพราะบางชื่อหากผิดไปจากเมืองไทยแล้ว ชาวจีนอื่นเขาอาจมีผักตัวอื่น มาแทนกัน


การกำหนดให้รับประทานผัก 7 อย่าง น่าจะเป็นกุศโลบายของนักปราชญ์แต่โบร่ำโบราณ การที่จะบอกให้คนที่รับประทานหมูเห็ดเป็ดไก่ ร่ำสุรา มาตลอดเป็นเวลาหลายวัน ไปถ่ายท้องเสียบ้าง คงมีคนเชื่อยาก เลยหากลวิธีให้กินผักซึ่งมีกากใย มากจะได้มีสุขภาพดี เลยให้กำหนดเป็นอาหารผัก แต่แนะนำอย่างเดียวคงยากเลยลากบาลีเข้าวัดเสียเลยจะได้ขลัง ให้ออก ไปทางมงคลเสียบ้าง คนเราชอบอะไร ๆ ที่เป็นสิ่งดี ๆ จึงถือเป็นประเพณีที่ต้องกินผัก7 อย่างที่เป็นศิริมงคล กันมาตั้งแต่โบราณ

ช่วงปีใหม่จะมีวันสำคัญอีก 1 วันคือ “ชิวเก้า “ ( 初 九 ) ถือเป็นวันเกิดเทพยดาฟ้าดิน เรียกว่าวัน “ ทีกงแซ “ ( 天 公 生 ) ในคืนวันที่ 8 เรียกว่า “ชิวโป๊ยแม้” ( 初 八 夜 ) ช่วงเวลา

ใกล้เที่ยงคืนต่อวันที่ 9 มีพิธีบูชาดาวนพเคราะห์ หรือ ดาวประจำวันเกิด ในวันนี้บางแห่งจะมีการบูชาเทพยดาฟ้าดิน เพื่ออธิษฐาน หรือ “ บน “ ขอพรสะเดาะเคราะห์ในช่วงปีใหม่ ดังเช่น ที่ป่อเต็กตึ๊งจัดให้มีการลงชื่อ “พะเก่ง “ (拍敬)หรือ “ฮกเก่ง”( 福 敬 ) ในช่วงตรุษจีน จน ถึงวันง่วงเซียว ( แล้วจะต้องไป “แก้บน “ ในช่วงปลายปีประมาณเดือน 11 ที่ศาลเจ้าหลายแห่งจะจัดให้มีงิ้วแก้บน ที่เรียกกันว่า “ เสี่ยซิ๊ง “ เรียกว่า “ขอบคุณพระเจ้า” อย่างที่กล่าวไว้ในตอนแรก )พุทธศาสนิกชนจะทำบุญ และ เวียนเทียน เวียนธูป อธิษฐาน รอบอุโบสถ หรือ ศาลเจ้า 3 รอบ ตั้งจิตอธิษฐาน ระลึกพระคุณเทพยดาฟ้าดิน ขออำนาจฟ้าดินเป็นที่พึ่ง ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือ เช่น หลวงปู่ไต้ฮง ช่วยดลบันดาลให้ประสบโชคดีตลอดปีใหม่ บางแห่งอาจมีการแจกของหวาน เป็นการเสร็จพิธี ใครที่ไปเที่ยวไกล ๆ ก็จะพากันกลับมาในวันนี้ วันชิวเก้า หรือ วันสุดท้ายของเทศกาลตรุษจีน ก็จะมีการทำบุญที่เป็นกิจกรรมของตรุษจีนไปจนถึงมืดค่ำ

อย่างไรก็ตาม งานเทศกาลตรุษจีนหาได้หยุดลงในวันที่ 9 ไม่ กิจกรรมทำบุญยังคงมีต่อเนื่อง แต่ไม่เอิกเกริก ตรุษจีนจะไปสิ้นสุดลงอย่างแท้จริงในวันเทศกาล “ง่วงเซียว” ( 元 宵 ) หรือ เทศกาลชาวนา (พิธีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นนั้นสะท้อนให้เห็นว่าเป็นพิธีของคนสังคมการเกษตรอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปฏิทินตามจันทรคติจีนนั้นมีชื่อเรียกว่า “หล่งและ” 農 曆 แปลตรงตัวว่า ปฏิทินการเกษตร ) เป็นวันที่ 15 ของเดือน 1 คือ “ เจียง้วยจับโหงว” ( 正 月 十五 ) แล้ว เพราะหลังจากนี้แล้ว ก็จะเป็นเวลาที่ต้องกลับไปทำนาในท้องไร่ท้องนา ศาล เจ้าต่าง ๆ จะมีการประมูลสิ่งของที่ ประธานจัดงานจัดหามา เพื่อนำเงินไปบูรณะศาลเจ้า หรือ นำไปทำทานต่อไป บางแห่ง ไม่มีการประมูลสิ่งของเช่นที่ศาลเจ้าไต้ฮงกง ก็จะมีขนมหวาน น้ำตาลทราย หรือน้ำตาลผสมถั่วลิสงปั้นเป็นรูปสิงโต สำหรับบูชาไว้บริการให้กับญาติโยมที่มาทำบุญ บ้างก็เอามาทำบุญเพิ่มขึ้นอีก 1 คู่จากที่ปีที่ผ่านมาได้รับขนมสิงโตไปบูชาที่บ้าน 1 คู่ เพื่อให้ศาลเจ้าไว้บริการให้ผู้ที่ประสงค์จะมาทำบุญ เป็นการหารายได้เข้าวัด เข้าศาลเจ้าอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งแล้วแต่นโยบายของแต่ละแห่ง หลังจากวัน “ง่วนเซียว 元 宵” ผู้คนที่ทำมาค้าขาย เป็นลูกจ้างก็จะเริ่มดำเนินกิจการค้ากันอย่างเต็มที่ เพราะเสร็จสิ้นกระบวนการของ “ตรุษจีน” แล้วโดยสมบูรณ์ บางแห่งจะมีงิ้วฉลองขึ้นปีใหม่ จึงจะถือว่าสมบูรณ์ก็มี


ซิงเจียยู่อี่ ซิงนี้ฮวกไช้ 新 正 如 意 - 新 年 發 財

ปีใหม่ขอให้สมความปรารถนา ปีใหม่ขอให้มีโชคลาภ


เทศกาลกินเจ ตรงกับช่วงระยะเวลา วันที่ 1 เดือน 9 ถึงวันที่ 9 เดือน 9 ตามจันทรคติ ของ ปฏิทินจีน ผู้คนส่วนหนึ่งจะไม่กินเนื้อสัตว์ ทำให้ได้ช่วยชีวิตสัตว์ไว้ได้ส่วนหนึ่ง เนื่องจากมีการฆ่าสัตว์น้อยลง ผู้คนที่ศรัทธาในพุทธศาสนาจะพากันสละกิจโลกียวัตร และ พากันเข้าวัดวาอารามบำเพ็ญศีลสมาทาน กินเจ คือ บริโภคแต่อาหารจำพวกพืชผัก และ ผลไม้เป็นหลัก ละเว้นไม่กระทำกิจใด ๆ อันนำมาซึ่งการเบียดเบียนเดือดร้อนให้เกิดแก่สัตว์โลก คือการไม่เอา ชีวิต เลือด เนื้อของสัตว์โลกให้มาเป็นของเรา พากันซักฟอกมลทินออกจากร่างกาย วาจา และ ใจ สวมเสื้อผ้าขาวสะอาด เข้าวัดเข้าวา พร้อมด้วยดอกไม้ธูปเทียน ทำบุญทำทานแก่สัตว์โลกผู้ยากไร้ ถือศีลกิจเจเป็นเวลา 9 วัน


เทศกาลกินเจ สำหรับปีนี้ ตรงกับวันที่ 29 กันยายน ถึง 7 ตุลาคม 2551 แต่พุทธบริษัทจีน และ ผู้ถือศีลกินเจ จะมีการชำระกระเพาะให้สะอาดก่อน โดยการกินเจในมื้อเย็นก่อนวันจริง 1 มื้อ และ มื้อเช้าหลังวันที่เก้าขึ้น 9 ค่ำอีก 1 มื้อเป็นการลา ซึ่งจะเป็นวันส่งเจ้า ในช่วง 9 วันนี้ ทุกวันคี่ จะถือเป็นวันเจใหญ่ พุทธบริษัทจะไปทำบุญ และ กินเจที่ศาสนสถาน นอกนั้นจะถือศีลกินเจที่บ้าน






ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง กำหนดรับเจ้าในวันที่ 28 กันยายน 2551จากนั้น มีพระสงฆ์ประกอบพิธีสวดคาถามหามงคลทุกวัน กำหนดการอื่น ๆมีดังนี้ / พิธีเบิกเนตรองค์ยมทูต และพิธีลอยกระทง ในวันที่ 4 ตุลาคม / มีพิธีทิ้งกระจาดในศาลเจ้าไต้ฮงกงตอนช่วงบ่าย / พิธีเวียนเทียนรอบศาลเจ้าในตอนหัวค่ำ / วันที่ 8 ตุลาคม เป็นวันส่งเจ้าในช่วงเช้า สิ้นสุดช่วงเทศกาลกินเจประจำปี

เทศกาลกินเจ เก๋าอ่วงเจ หรือ กิ๋วอ่วงเจ แล้วแต่จะออกเสียง เป็นพิธีกรรมที่พุทธบริษัทไทยเชื้อสายจีนถือปฏิบัติมาแล้วนับสิบ นับร้อยปี โดยทั่วไป ผู้ที่จะเข้าสู่เทศกาลนี้ จะต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมพอสมควร ผู้ที่ถือเคร่ง จะนุ่งห่มเสื้อผ้าสีขาวบริสุทธิตลอดทั้งเทศกาล นอกจากจะกินเจเคร่ง คือการไม่กินพืชผักที่มีกลิ่นหอม หรือ เผ็ดร้อนอันจะนำมาซึ่งกามกิเลศ เช่น หัวหอม กระเทียม ไม่กินแม้กระทั่งน้ำนม ซึ่งผู้กินมังสะวิรัติ บางส่วนจะถือว่าน้ำนมนั้นกินได้ จะไม่ข้องแวะทางโลกีย์วิสัย คิด และ ทำแต่สิ่งที่ดี ระมัดระวังสำรวมในการพูดจา ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้อยู่เพียงแค่นั้นว่า เมื่อถึงเทศกาลนี้ ต้องทำอย่างนี้ แต่จะทราบถึงเหตุที่มาแห่งเทศกาลนี้คงมีเพียงน้อยนิด แต่ที่มาแห่งเทศกาลกินเจนั้นไม่ได้มีมาแต่ความเชื่ออย่างเดียว มีที่มาหลากหลาย ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้



เทศกาลกินเจ มาจากคำบอกเล่าที่เล่าต่อ ๆ กันมาเป็นเชิงปรำปรา และ มาจากคำสอน ความเชื่อทางศาสนาพุทธ ฝ่ายนิกายมหายาน เป็นกุศโลบายให้คนทำความดี เหมือนเช่นเรื่องอื่นๆ แต่คนรุ่นหลังได้มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งพิธีการ เพื่อให้เกิดความขลัง ให้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น จึงทำให้กลายเป็นพิธีการที่ต้องใช้เงินใช้ทองมากมายในการประกอบพิธีให้ครบถ้วน

เทศกาลตรุษจีน หากจะถือตามนิยายปรำปราอิงประวัติศาสตร์ในปลายราชวงศ์ซ้อง ซึ่ง บันทึกไว้ในหนังสือ “ประวัติวัฒนธรรมจีน” เรียบเรียงโดย ล.เสถียรสุต เล่าไว้ว่า กษัตริย์องค์สุดท้ายมีพระชนม์ชีพเพียง 9 พรรษา เสด็จหนีพวกมงโกลไปยังเกาะไต้หวัน แต่ได้สิ้นพระชนม์ชีพที่กลางทะเลนั่นเอง ข้าราชบริพาร พากันแต่งกายไว้ทุกข์ และ จัดพิธีทางศาสนาพุทธเป็นการอำพราง แต่สิ่งของต่าง ๆ ในพิธีเป็นสีเหลืองซึ่งเป็นสีที่กษัตริย์จีนใช้ และ ในพิธียังใช้ราชาศัพท์ ชาวจีนแต้จิ๋วที่เดินทางมาจากฮกเกี้ยนที่ซึ่งกษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ซ้องเหยียบแผ่นดินเป็นแห่งสุดท้าย ได้นำพิธีดังกล่าวมาประเทศไทยด้วย ซึ่งชาวแต้จิ๋วในประเทศจีนเองไม่มีพิธีนี้



อีกความเชื่อหนึ่ง มาจากการบูชาดาวนพเคราะห์ทั้งปวง ตามความเชื่อในพุทศาสนาฝ่ายมหายานของจีน ที่ถือการทำบุญทำทานแก่ผู้ยากจน เป็นที่นิยมมาแต่โบราณ เชื่อกันว่าการกินเจนั้นให้ผลดีทางด้านจิตใจ เป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ได้แผ่เมตตา กรุณา ช่วยชีวิตให้สัตว์ให้รอดตายได้จริง ๆ จากตอนหนึ่งในหนังสือ “ประวัติการกินเจ” ของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ พิมพ์โดยโรงเจฮั่วเฮียง ท่านกล่าวถึงประวัติการกินเจเดือนเก้าจีนไว้มีใจความว่า



พิธีการกินเจเดือนเก้าตามปฏิทินจีนทุก ๆ ปี มีกำหนด 9 วันนั้น ลัทธิมหายานในพุทธศาสนามีอรรถาธิบายว่า เป็นการประกอบพิธีกรรมสักการบูชาพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ กับ พระโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ หรือ นัยหนึ่งคือ “ดาวพระเคราะห์ทั้ง 9” ซึ่งในพระสูตร “ปั๊กเต้าโก้วฮุดเซียวไจเอี่ยงซิ่วเมียวเกง”ได้เอ่ยนามไว้ และได้แบ่งภาคต่อ ๆ มาเป็น ดาวนพเคราะห์คือ


ดาวไท่เอี๊ยงแช คือ พระอาทิตย์
ดาวไท่อิมแช คือ พระจันทร์
ดาวฮวยแช คือ ดาวพระอังคาร
ดาวจุ้ยแช คือ ดาวพระพุทธ
ดาวบักแช คือ ดาวพฤหัสบดี
ดาวกิมแช คือ ดาวพระศุกร์
ดาวโถ่วแช คือ ดาวพระเสาร์
ดาวลอเกาแช คือ พระราหู
ดาวโกยโต๋วแช คือ พระเกตุ
เทพเจ้าทั้ง 9 องค์ ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์พุทธบริษัทจีนจึงพากันเรียกว่า “ เก๋าอ๊วง “ หรือ “กิ๋วอ๊วง” หมายถึง นพราชา

เมื่อถึงขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ตามจันทรคติจีน เทพเจ้าทั้ง 9 จะผลัดเปลี่ยนกันมาตรวจโลก คอยให้คุณให้โทษแก่ประชาชนทั่วไป ด้วยความที่เทพเจ้าทั้ง 9 ทรงมีน้ำพระทัยเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาคุณ ควบคุมให้ถึงพร้อมด้วยความบริบูรณ์ทางธรรม สอดส่องควบคุมทุกข์สุขของสัตว์โลกด้วย บัณฑิตโบราณจึงบัญญัติไว้ว่า การทำพิธีกรรมบูชาดาวนพเคราะห์ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ ให้พุทธบริษัทมาประชุมบำเพ็ญกุศลวัตรถวายพุทธบริโภค รักษาศีล สดับฟังพระอภิธรรม และ ธรรมเทศนา บริจาคไทยทาน ทิ้งกระจาด และ ลอยกระทงแผ่กุศลแก่สัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากในนรกอเวจี อันมีเปรตอสูรกายเป็นอาทิ และ ทำการปล่อยนกปล่อยปลา เต่า เป็นต้น

ส่วนความเชื่ออันเป็นที่มาของการถือศีลกินเจของภาคใต้ โดยเฉพาะที่ภูเก็ตนั้น มีที่มาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า และ พระโพธิสัตว์เช่นกัน และ มีชื่อพระพุทธเจ้าต่างออกไปบ้างแต่สุดท้ายก็แบ่งภาคมาเป็น นพราชาเหมือนกัน เบื้องต้น มาจากแคว้น กังไส พระราชโอรสทั้งเก้าเสียชีวิตในสงคราม และจุติเป็นวิญญาณอมตะเที่ยวสอดส่องดูแลทุกข์สุขของชาวเมืองกังไส และได้แนะนำให้เศรษฐีผู้ใจบุญให้ถือศีลกินเจ ผลไม้ 5 อย่าง ผัก 6 อย่าง พร้อมกับจุดตะเกียง 9 ดวง อันหมายถึงพระราชโอรสทั้ง 9 พระองค์ ในระหว่างกินเจ ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามของคาวทุกชนิด ห้ามดื่มของมึนเมาเป็นต้น เศรษฐีเห็นว่าพระราชโอรสได้สอนและหายตัวไปในวันที่ 1 เดือน 9 จึงได้กินเจวันดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาคณะงิ้วผ่านมาเห็นเป็นเรื่องน่ารู้จึงนำเรื่องราวไปแต่งเติมและเล่นงิ้วเผยแพร่ไปทั่ว พิธีกินเจที่คณะงิ้วนำไปแสดงนั้นมีกำหนดพิธีการต่าง ๆ เป็นขั้นเป็นตอนเช่น พิธีอัญเชิญพระอิศวรมาประทับเป็นประธานในพิธีกินเจ พิธีสักการะนพราชา พิธีปล่อยทหารเอกออกไปรักษามลฑณพิธี พิธีเลี้ยงอาหารทหาร พิธีเรียกทหารกลับ พิธีลุยไฟ พิธีสะเดาะเคราะห์เสริมดวงชะตา และจบด้วยพิธีบวงสรวงดาวนพเคราะห์ ซึ่งพิธีกินเจบางแห่ง เช่นทางภาคใต้ของไทยมีการแสดงทรมานกาย มีการแสดงทางทหารเช่นการแสดงเอ็งกอ นั่นก็มาจากคณะงิ้วที่นำมาเผยแพร่นั่นเอง

การถือศีลกินเจในเทศกาลกินเจเดือน 9 ตามปฏิทินจีนตามข้างต้นนั้น เป็นความเชื่อที่ถือกันมาแต่โบราณ เป็นกุศโลบายของนักปราชญ์ ราชบัณฑิต ผู้มีกุศลจิตในสมัยนั้นที่ต้องการให้ผู้คนให้อยู่ในศีลในธรรม ถือศีลกินเจ ทำบุญทำทานเพื่อให้จิตใจอ่อนโยน มีความเมตตา กรุณาต่อมวลสัตว์โลกทั้งหลาย แม้ความเชื่อจะต่างกัน แต่ผลแห่งการกระทำนั้นคือจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ บุคคลทั่วไปควรจะลดละอกุศลกรรมทั้งมวล อุตสาหสะสมแต่สิ่งที่ดีงาม เพื่อรับพรจากเทพเจ้าทั้ง 9 กระองค์ ก็จักทำให้จิตใจเบิกบาน ผ่องแผ้ว มีแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตสืบไป

กวนอิม บทสวด

十供讚
จับ กง จั้ง
(บททศบูชาสรรเสริญ)

香 纔 爇 爐 焚
เซียง ไช ยี ลู ฟัม
เครื่องสุคนธาในกระถางเริ่มระอุร้อน

寶 鼎 中
เปา ติน จง
เผาไหม้อยู่ภายในกระถางรัตนะ ๓ ขา

栴 檀 沉 乳 眞 堪 供
จิน ทัน ชิม ยู จิน คำ กง
มีไม้แก่นจันทน์หอมเท่านั้นที่ควรค่าแก่การถวายสักการะ

香 煙 繚 繞 蓮 花 動
เซียง ยิน เลียว เยา เลียน ฟา ตง
ควันแห่งเครื่องหอมนี้หมุนเวียนวนเป็นเกลียว ดอกปทุมมาลย์ก็สั่นไหว

諸 佛 菩 薩 下 天 宮
จู ฟู ผู่ สัก ฮา เทียน กง
ขอบรรดาพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ได้เสด็จลงจากทิพยพิมาน

天 台 山 羅 漢 納 受 人 間 供
เทียน ไท ซัน ลอ ฮอน นับ เซา เลิน เกียน กง
ทั้งขอพระอรหันตเจ้าแห่งเทือกเขาเทียนไท้ โปรดรับการสักการะจากมวลมนุษย์ด้วยเทอญ


西方彌陀讚
ซี ฟัง มี ท้อ จั้ง
(บทปัจฉิมทิศอมิตาภะสรรเสริญ)

讚 禮 西 方
จัง ลี ซี ฟัง
ขอนมัสการยังพุทธเกษตรแดนปัจฉิมทิศา
極 樂 清 涼
เกก ลก เชง เลียง
พุทธสถานอันเปี่ยมด้วยทิพยศานติสุขแห่งสุขาวดี
蓮 池 九 品 花 香
เลียน ชี กิว พิน ฟา เซียง
พุทธสถานแห่งสระโบกขรณี นพปุณฑริกต่างส่งกลิ่นหอม

寶 樹 成 行
เปา ซู เส่ง ฮัง
รัตนพฤกษ์เป็นแนวทางแห่งมรรคผล
常 聞 天 樂 鏗 鏘
เชียง บุน เทียน ลก ฮำ เจียง
กระดิ่ง กังสดาลหยก กระทบดังสั่นไหว สดับขับกล่อมดังทิพยดนตรี
阿 彌 陀 佛 大 放 慈 光
ออ มี ทอ ฟู ตา ฟัง ชือ กวง
อลังการพุทธรัศมีแห่งองค์อมิตาภะสาดส่องพุทธเมตตา
化 導 衆 生 無 量
ฟา เตา จง เซง บู เลียน
โปรดเหล่าสรรพสัตว์มิอาจประมาณ

往 西 方
วัง ซี ฟัง
สู่เบื้องทิศปัจฉิม

現 前 衆 等 歌 揚
เฮียน เชียน จง ตัง กอ เอียง
ขออาราธนาพุทธบารมีทรงสำแดงสุขาวดี ปรากฏอยู่เบื้องหน้าแห่งมหาชนผู้สรรเสริญ

願 生 安 養
ยง เซง ออน เอียง
เพื่อตั้งปณิธานไปอุบัติยังบรมสุขพุทธสถานแห่งนี้

บทสวดมนต์ต่างๆ

戒定讚 ไก ติน จั้ง
(บทศีลสมาธิสรรเสริญ)

戒 定 真 香
ไก ติน จิน เซียง
ศีลาจารและสมาธิ คือเครื่องสุคนธ์ของหอมที่แท้จริง

焚 起 衝 天 上
ฟัม คี ชง เทียน เซียง
เผาไหม้พวยพุ่งสู่สวรรค์เบื้องบน

弟 子 虔 誠
ตี จือ คิน เซง
ซึ่งสานุศิษย์ขอน้อมถวายด้วยความเคารพเป็นที่สุด

爇 在 金 爐 放
อี ไจ กิม ลู ฟัง
อันได้เผาร้อนอยู่ในกระถางทองคำนี้

頃 刻 紛 紜
คิน ขาก ฟุน วัน
ณ ชั่วขณะเดียวก็เกิดมีจำนวนมากมาย

即 遍 滿 十 方
เจียก เพียน มุน สิบ ฟัง
เต็มเปี่ยมไปทั่วในทศทิศ

昔 日 耶 輸
สิด ยือ แย ชี
(ประดุจ)พระนางยโสธราในอดีต

免 難 消 災 障
เมียง นัน เซียว ไจ เจียง
ที่พ้นจากความทุกข์ยากแลขจัดสิ้นซึ่งภยันตรายและอุปสรรคทั้งปวง (จากการถวายเครื่องหอมชนิดนี้)

南 無 香 雲 蓋 菩 薩 摩 訶 薩
นำ มอ เซียง ยง ไก ผู่ สัก มอ ฮอ สัก
ขอนอบน้อมต่อพระโพธิสัตว์มหาสัตว์(ผู้อยู่ใต้)ควันแห่งเครื่องหอมอันประดุจร่มฉัตรนี้

佛面讚 ฟู เมียน จั้ง
(บทพุทธพักตร์สรรเสริญ)

佛 面 猶 如 淨 滿 月
ฟู เมียน เยา ยู เจง มุน แย
พระพุทธพักตร์ปานประหนึ่งดวงจันทร์เพ็ญที่หมดจด

亦 如 千 日 放 光 明
ยิด ยู เชียน ยือ ฟัง กวง เมง
แลประดุจดวงอาทิตย์ที่เปล่งแสงนับพันดวง

圓 光 普 照 遍 十 方
ยง กวง โพว เจียว เพียน สิบ ฟัง
รัศมีสัณฐานกลมฉายรังสีไปทั่วทั้งทศทิศ

喜 捨 慈 悲 大 慈 大 悲 皆 具 足
ฮี แซ ชื่อ ปี ตา ชื่อ ตา ปี ไก กี จก
พระมุทิตา พระอุเบกขา พระเมตตา พระกรุณาล้วนแต่ทรงสมบูรณ์ถึงพร้อม

南 無 盡 虛 空 遍 法 界
นำ มอ จิน ฮี คง เพียน ฝับ ไก
過 去 現 在 未 來
กัว คี เฮียน ไจ มี ไล
佛 法 僧 三 寶
ฟู ฟับ เจง ซำ เปา
ขอนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยคือพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้าและพระสงฆเจ้า ที่ใน
อดีต ปัจจุบันและอนาคตโดยตลอดหมดสิ้นทั้งอากาศธาตุและธรรมธาตุ

准提神咒 (คาถาพระจุณฑิโพธิสัตว์)

稽首皈依苏悉帝 头面顶礼七俱胝
ไค เซา กุย อี ซู เสิด ตี เทา เมง เตง ลี ฉิก กี จือ
我今称赞大准提 唯愿慈悲垂加护
งอ กิม เชงจัง ตาจุนที ไว ยง ฉื่อปี ซุย เกีย ฟู

南无飒哆喃。三藐三菩陀。俱胝喃。怛侄他。
นำ มอ สัก ตอ นำ. ซำเมียวซำผู่ทอ. กีจือนำ. ตันจีทอ.
唵。折戾主戾。准提娑婆诃。
งัน. จี ลี จู ลี. จุนที ซอ พอฮอ.

皈依地藏讚
กุย อี ตี จั๋ง จั้ง
(บทกษิติครรภ์สรณคมสรรเสริญ)

稽 首 皈 依 地 藏 王 菩 薩
ไค ซาว กุย อี ตี จั้ง วัง ผู่ สัก
ขอน้อมเศียรนมัสการต่อพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์เจ้าเป็นที่พึ่ง

誓 願 難 量
ซือ ยง นัน เลียน
พระผู้มีพระปฏิญาณและพระปณิธานยากที่จักประมาณหยั่งวัดได้

廣 度 衆 生 放 毫 光
กวง ตู จง เซง ฟัง เฮา กวง
พระองค์ทรงเปล่งแสงรัศมีโปรดสรรพสัตว์ได้อย่างกว้างขวาง

直 駕 慈 航
เต็ก กา ชือ ฟัน
เพื่อนำไปสู่สายธารแห่งพระเมตตา

大 辨 長 者
ตา ปัน เชียง แจ
ท่านคหบดีไตปันอัครสาวก

道 明 和 尚
เตา เมง ฮัว เสียง
และพระภิกษุเตาเมงอัครสาวก

同 發 願 度 衆 生
ทง ฝับ ยง ตู จง เซง
ล้วนแต่ประกาศปณิธานจักโปรดสรรพสัตว์เช่นเดียวกัน

超 往 西 方
เจา วัง ซี ฟัง
ยังให้(สรรพสัตว์)ได้ก้าวล่วงถึง(แดนสุขาวดี)ที่ปัจฉิมทิศ

若 人 皈 依 地 藏 王 菩 薩
หยก เลิน กุย อี ตี จั้ง วัง ผู่ สัก
หากแม้นมีมนุษย์ผู้ใดน้อมพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์เจ้าเป็นที่พึ่งแล้วไซร้

早 往 西 方
เจา วัง ซี ฟัง
ย่อมจักได้ไปสู่แดนสุขาวดีอันสุขารมณ์เบื้องทิศปัจฉิมได้อย่างรวดเร็วแล

บทบูชาพระ

(นำมอเฮียงฮุ้งก่ายผู่สักมอฮอสัก 3 จบ)
(นัมมอปึงซือเซ็กเกียมอนีฮุ้ง 3 จบ)
(นำมอกวนสี่อิมผู่สักหม่อออสัก 3 จบ)

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

สุคนธ์บูชา


ลู เฮียง จัง อี · ฝับ ไก โมง เฮิน · จู ฟู ไฮ ฮุย เสิด เยา บุญ · ซุย ชี กิจ เซียง ยง · เซง อี ฟัง ฮึง · จู ฟู เฮียน ชวน เซง · (นำ มอ เฮียง ยง กาย ผู่ สัก มอ ฮอ สัก 3 จบ)

ใจความสำคัญของมนต์สุคนธ์บูชา

เครื่องสุคนธ์ในกระถางธูปเผาร้อนทั่วโลกธาตุ ได้รับความหอมอบอวล พระพุทธองค์ทรงประชุม ณ ทุกแห่งต่างได้ทราบ เป็นศิริเมฆบอกกล่าวไปทั่วทุกแห่ง ข้าพเจ้าขอตั้งสัตย์ยึดมั่นในพระรัตนตรัย พระพุทธองค์ทรงปรากฏพระวรกายขึ้นทุกพระองค์

คาถาพระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร


โอม มา นี ปะ หมี่ ฮง · หม่า โฮ อี่ ยา นัก · เจ็ด ตู เต็ก ปา ตั๊ก · เจ็ด เต็ก เซ นัก · หมี่ ตา ลี่ โก · สัก อือ วา อือ ทา · ปู ลี สิด ตะโก · นัก ปู ลา นัก · นัก ปู ลี · ติว เตอ บัน นัก · ไน มา หลู่ กี · ซัว ลา เย ซอ ฮอ (3 จบ)